แต่กับทีมที่หายตัวไปนาน หรือไม่เคยขึ้นมาเล่นพรีเมียร์ลีกเลย พวกเขามักทำเซอร์ไพรส์ได้อยู่เสมอ
UFABETWINS ดั่งเช่น เชฟฟิลด์ ยูไนเต็ด ผู้เดบิวต์ จากฤดูกาลแรกด้วยการพลาดพื้นที่บอลยุโรปไปแค่ 5 แต้มการโชว์ฟอร์มอันน่าประทับใจโดยขุนพลของ คริส ไวล์เดอร์ นำโดย ดีน เฮนเดอร์สัน, คริส บาแชม, จอห์น ลุนด์สตรัม, ลีส มุสเซต์ และ โอลิเวอร์ แม็คเบอร์นี่ ทีม “ดาบคู่” สามารถเอาชนะทั้ง เชลซี, อาร์เซนอล, ท็อตแนม ฮ็อทสเปอร์, พร้อมยันเสมอ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ได้ https://www.ufabetwins.com/
ด้วยการที่ทีมหน้าใหม่เหล่านี้ไม่เคยพบกับสโมสรเจ้าประจำของพรีเมียร์ลีก ย่อมทำให้การเก็บข้อมูล รับมือกับวิธีการเล่นของพวกเขาเป็นไปได้ยากยิ่งขึ้น ซึ่งการคาดเดาไม่ได้เหล่านี้ก็เป็นจุดเด่นที่ทำให้ เชฟฟิลด์ ยูไนเต็ด ยึดครึ่งบนตารางอย่างเหนียวแน่นเกือบ 30 นัดด้วยกัน
พวกมวยรอง
เมื่อเป็นพวกทีมเพิ่งเลื่อนชั้น การมาเจอกับเจ้าเก่าบนลีก ย่อมส่งให้พวกเขากลายเป็นมวยรองบ่อนไปโดยปริยาย และการถูกคาดหวังว่าสโมสรเหล่านี้จะแพ้ในหลายๆเกม มันช่วยทั้งคลายความกดดันในการลงเล่น เพราะไม่มีอะไรที่เลวร้ายไปกว่าความพ่ายแพ้อีกแล้ว
แถมมันยังกลายเป็นแรงบันดาลใจชั้นดี สำหรับการพิสูจน์ว่าพวกเขามีดีกว่าที่โลกรู้ และแรงกระตุ้นเพิ่มเติมแม้สัก 5%
ก็เพียงพอต่อการเปลี่ยนจากแพ้เป็นเสมอหรือชนะได้เลย
แต่แล้วเมื่อบรรดามวยรองเหล่านี้เอาตัวรอดมาได้แบบสวยหรู ก็เข้าสู่ช่วงเวลาแห่งการพิสูจน์ตัวเองอีกครั้ง ว่าพวกเขาดีพอกับตำแหน่งที่ตัวเองอยู่จริงหรือไม่?
บางทีมที่แข็งแกร่งพอก็สามารถแปรเปลี่ยนสู่เจ้าประจำของลีกได้ แต่กับบางสโมสร Second Season Syndrome กำลังย่างกรายเข้ามาหลอกหลอนพวกเขาอยู่
อ่อนแอก็แพ้ไป
ก้าวเข้าสู่ฤดูกาลที่สอง อะไรที่เคยเป็นตัวช่วยเมื่อซีซั่นก่อน ก็เริ่มวกกลับมาทำลายทีมนั้นๆ เมื่อบาดแผลจากฤดูกาลแรกเลือนจางไป การพบเจออดีตน้องใหม่เหล่านี้ย่อมสามารถโดนจับทางได้มากขึ้น แท็กติกเดิมๆที่เคยใช้ได้ กลับไม่อาจงัดมาสู้บรรดาสโมสรในอีกระดับหนึ่งได้เหมือนเคย
เมื่อความคาดหวังจากแฟนบอล, สื่อ หรือแม้แต่จากในสโมสรถาโถมเข้ามา ความกดดันก็ถูกกดลงไปในสนาม กอปรกับแรงกระตุ้นต่างๆที่มลายหายไป ย่อมทำให้ทุกสิ่งไม่ได้ดั่งใจอีกแล้ว ผลงานเกือบแพ้กลายเป็นเกือบเสมอหรือเกือบชนะเสียส่วนใหญ่แทน
แถมการลงเล่นในลีกที่สปีดบอลค่อนข้างเร็ว การออกบอลช้าไปจังหวะเดียว อาจหมายถึงโดนฉกแย่งบอลไปลุ้นทำประตูได้อย่างง่ายดาย จนส่งผลให้ผู้เล่นเกิดอาการล้าสะสม ยิ่งกับสโมสรที่มีขนาดทีมค่อนข้างเล็กแล้วนั้น นั่นอาจหมายถึงอาการบาดเจ็บหรือลงเล่นแบบไม่ฟิตเต็มร้อย ซึ่งไม่ใช่เรื่องดีในการลงเล่นบนเวทีที่ความผิดพลาดอาจมีมูลค่าถึง 3 แต้ม
แต่แล้วบางทีโชคชะตาก็มีส่วนสำคัญ เชฟฟิลด์ ยูไนเต็ด กลับมาลงเล่นฤดูกาลที่สองในระหว่างเกิดการระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้ต้องสูญรายได้ไปบางส่วน กำลังหลักชุดเดิมย้ายออก (ชัดๆก็ ดีน เฮนเดอร์สัน ผู้รักษาประตูมือดีที่ถูก แมนฯ ยูไนเต็ด เจ้าของตัวจริงดึงกลับไปเฝ้าเสา) เสริมทัพผิดพลาด ไร้ซึ่งแฟนบอลเข้าสนาม ผู้เล่นตัวหลักประสบปัญหาบาดเจ็บ และหลายคนต้องกรำศึกหนักต่อเนื่องทั้ง 2 ซีซั่น โดยไม่ได้เว้นช่วงให้รายการได้พักฟื้นตัวอย่างเต็มที่ จนทำให้ 17 นัดแรกของฤดูกาล 2020-21 ของพวกเขาผ่านไปโดยไร้ซึ่งชัยชนะใดๆเลย
การหักปากกาเซียนพลิกชนะ แมนฯ ยูไนเต็ด ก็ยังไม่เพียงพอให้พวกเขาอยู่รอดบนพรีเมียร์ลีกในซีซั่นถัดไป หลังจากกลายเป็นทีมแรกที่ตกชั้น แม้ยังเหลืออีก 6 นัดในลีกก็ตาม
หากย้อนไปในอดีต สโมสรที่เคยประสบปัญหาป่วยซีซั่นสองอย่าง สวอนซี ซิตี้ ก็ร่วงตกชั้นไปตั้งแต่สมัยดิวิชั่น 1 ในฤดูกาล 1982-83 และทิ้งดิ่งลงสู่ดิวิชั่น 4 เพียงสามปีให้หลัง หนำซ้ำยังเกือบหลุดไปถึงนอกลีกมาแล้วเลยทีเดียว โดยปัจจุบัน “หงส์ขาว” ยังคงโลดแล่นอยู่ในระดับแชมเปียนชิพ รอคอยวันกลับมาสู่ลีกสูงสุดอีกหน หลังไต่เต้ากลับสู่ลีกสูงสุดได้อีกครั้งในฤดูกาล 2011-12 และตกชั้นเมื่อฤดูกาล 2017-18
เทพนิยายเลสเตอร์ ซิตี้
หากมีโรคป่วยซีซั่นสองแล้ว มีหรือที่เราจะไม่เอ่ยถึงเทพนิยายของ เลสเตอร์ ซิตี้ ที่คือคนละขั้วกับอาการดังกล่าวเลย
เลสเตอร์ เลื่อนชั้นขึ้นสู่พรีเมียร์ลีกในฤดูกาล 2014-15 ได้ไม่สู้ดีนัก พวกเขาจมบ๊วยอยู่นานกว่า 4 เดือนครึ่ง
จนการชนะ 7 จาก 9 นัดสุดท้ายของลีก ช่วยต่อชะตาให้ “จิ้งจอกสยาม” มีลมหายใจบนลีกสูงสุดได้อีกปี
ด้วยอัตราต่อรองคว้าแชมป์ 5,000-1 หรือเทียบให้เห็นภาพ คือราคาของทีมเต็งตกชั้น พวกเขาอยู่นอกสายตามาโดยตลอด และมีสรรพคุณเพียบพร้อมต่อการประสบปัญหา Second Season Syndrome อย่างไร้ข้อกังขา
แต่เมื่อเริ่มต้นซีซั่น 2015-16 ลูกทีมของ เคลาดิโอ รานิเอรี ที่มาคุมทีมต่อจาก ไนเจล เพียร์สัน ไม่เคยหล่นไปต่ำกว่าอันดับ 6 ในลีก และยึดตำแหน่งจ่าฝูงยาวตั้งแต่กลางเดือนมกราคม จนเข้าป้ายแชมป์ลีกสมัยแรกของสโมสรได้สำเร็จ
ปัจจุบัน เลสเตอร์ ภายใต้การบริหารของกลุ่ม คิง เพาเวอร์ กลายเป็นส่วนหนึ่งของขาประจำในพรีเมียร์ลีก ผู้แย่งชิงพื้นที่ ยูฟ่า แชมเปียนส์ ลีก อย่างสนุกสนานไปแล้ว เช่นเดียวกับอีกหนึ่งอดีตน้องใหม่อย่าง วูล์ฟแฮมป์ตัน วันเดอเรอร์ส ที่รวบรวมผู้เล่นโปรตุกีสคอนเนคชั่นไว้ ราวกับกลายเป็นทีมชาติโปรตุเกสขนาดย่อม ก็ยังคงอยู่รอดปลอดภัย และเคยได้ไปเล่นบอลยุโรปมาแล้วด้วย
ป่วยซีซั่นสอง โรคร้ายหรือแค่คิดไปเอง?
หากย้อนดูสถิติการตกชั้นตั้งแต่มีพรีเมียร์ลีกก่อตั้งมา โดยนับเริ่มจากฤดูกาล 1994-95 จะพบว่าจาก 85 ครั้งที่มีสโมสรร่วงไปแชมเปียนชิพ มีแค่ 12 คราเท่านั้น ที่เป็นพวก Second Season Syndrome
นั่นหมายความว่า มีสโมสรที่โดนโรคป่วยซีซั่นสองเล่นงานจนตกชั้นไปแค่ 14.1% เท่านั้น ค่อนข้างน้อยเกินกว่าที่จะกล่าวโดยรวมว่า ทีมน้องใหม่ไฟแรงส่วนมากจะประสบพบเจอกับการตกชั้นในปีถัดไป บ้านผลบอล